โลกในยุคปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจนั้นมีความคึกคักมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีธุรกิจหน้าใหม่หลากหลายประเภทของธุรกิจที่กำเนิดมาใหม่และลงทุนเปิดบริษัทเพื่อสร้างความเชื่อใจให้แก่ฐานลูกค้าของเจ้าของกิจการนั้น ๆ จึงไม่แปลกเลยที่เจ้าของกิจการนั้น ๆ จะได้รับกำไรมหาศาล แน่นอนอยู่แล้วว่ากำไรที่ว่าย่อมหักออกมาจากค่าดำเนินการต่าง ๆ และค่าแรงเรียบร้อยแล้ว แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่มาของเงินจากกำไรที่เจ้าของกิจการนั้น ๆ ได้มาอย่างสุจริต และถูกต้องตามหลักทางกฎหมายหรือเปล่า ดังนั้นจึงก่อให้เกิดการรับตรวจสอบบัญชีเกิดขึ้นมานั่นเองค่ะ

หน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชี

ผู้ตรวจสอบบัญชีทำหน้าที่ในการรับตรวจสอบบัญชีข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายรับ รายจ่าย ของบริษัทไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการ Payment หรือธุรกรรมต่าง ๆ รวมไปทั้งการคำนวณในเรื่องของภาษีที่จะต้องเสียให้แก่รัฐบาล สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือจะต้องมีความเป็นกลางในการตรวจสอบวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทว่าสมเหตุสมผลไหม ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือข้อบังคับไหม โดยงบการเงินนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของบริษัทนั้นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ควรค่าต่อการลงทุนร่วมด้วยมากน้อยแค่ไหนเป็นต้น

ขั้นตอนการตรวจสอบบัญชี

ในการรับตรวจสอบบัญชีสิ่งที่จะต้องมีเป็นอันดับแรกเลยก็คือใบอนุญาตในการตรวจสอบบัญชีจากสภาวิชาชีพบัญชี เพราะเนื่องจากเรามีหน้าที่ในการดูแลและตรวจสอบงบการเงินและบัญชีของบริษัทที่ว่าจ้างเราให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดตามกฎหมายนั้นแล้วตัวผู้ตรวจสอบบัญชีนั้นจึงจำเป็นต้องมีใบรับรองความสามารถจากสภา

โดยขั้นตอนการตรวจสอบนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

  1. ขั้นตอนของการวางแผน
    1. พิจารณางานที่ได้รับมอบหมายแล้วทำการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นให้ครบ
    2. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้างต้นว่าข้อมูลแต่ละตัวนั้นตัวไหนต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
    3. ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงออกแบบการควบคุมความเสี่ยง
  2. ขั้นตอนการลงมือตรวจสอบ
    1. ตรวจสอบตัวเลขทุกตัวไม่ว่าจะเป็น รายได้ รายจ่าย ต้นทุนที่ใช้ในการผลิต และแหล่งที่มาของเงินทุน
    2. ตรวจสอบการนำเงินที่ได้ไปลงทุนไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นหรือสิ่งก่อสร้างในอนาคต
  3. ขั้นตอนการทำรายงานสรุปการตรวจสอบบัญชี
    1. นำผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและประเมินแล้วไปนำเสนอสิ่งที่ต้องทำการแก้ไข
    2. จัดทำเอกสารรายงานการตรวจสอบบัญชี

จะเห็นได้เลยว่าในแต่ละขั้นตอนนั้นมีความยุ่งยากและต้องใช้ความละเอียดและความแม่นยำในการคำนวณ อีกทั้งยังต้องมีทักษะในการประเมินตัวเลขต่าง ๆ อย่างถูกต้องและต้องไม่มีข้อผิดพลาด